คอนกรีตมวลเบา เค บล็อคเป็นคอนกรีตที่มีน้ำหนักเบาที่ผลิตจากปูนซีเมนต์ ทราย น้ำ และฟองอากาศ ขนาดเล็กๆ เป็นจำนวนมากฟองอากาศที่มีความแข็งแรงและมีขนาดเล็กในคอนกรีตมวลเบา เค บล็อคเกิดจาก สารสร้างฟองอากาศที่มีคุณภาพของเค บล็อค เทคโนโลยี (K Block Foaming Agent) เมื่อผลิตผ่านเครื่อง ผลิตโฟม (foam generator) จะเกิดเป็นฟองอากาศที่มีความแข็งแรงและมีขนาดเล็กที่เรียกว่า “โฟม” จากนั้น จึงนำไปผสมรวมกับซีเมนต์เพสต์หรือมอร์ต้าร์ สำหรับผลิตเป็นคอนกรีตมวลเบาฟองอากาศที่มีความแข็งแรง และมีขนาดเล็กๆ เหล่านี้รวมกับเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาพิเศษสำหรับกระบวนการผลิตจะทำให้ได้วัสด ที่มีน้ำหนักเบาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ประวัติ:

คอนกรีตมวลเบา เค บล็อค เริ่มต้นการผลิตโดยใช้ระบบ CLC (cellularlightweight concrete) โดยระบบCLC เริ่มมีการพัฒนาขึ้นในช่วงปี 1920’s และใช้วัตถุดิบในการผลิตเช่นเดียวกันกับการผลิตคอนกรีต คือ ซีเมนต์ ทราย และน้ำแต่จะไม่มีการใช้มวลหยาบโดยที่มวลหยาบและทรายบางส่วน (หรือทั้งหมด) จะถูกแทนที่ด้วยฟองอากาศ ขนาดเล็ก จนเกิดเป็นคอนกรีตมวลเบา ในขณะที่ CLC มีการใช้งานทั่วโลกเป็นเวลากว่า 60 ปี ซึ่งส่วนมากจะใช้ใน การทำหลังคาฉนวนกันความร้อนและปรับระดับพื้น (floor topping) แต่ปัญหาสำคัญของระบบ CLC คือการขาด อุปกรณ์การผลิตที่ดี การผลิตฟองอากาศที่มีความแข็งแรงยังทำได้ยาก และรวมไปถึงการขาดระบบควบคุมการ ผลิตและขั้นตอนการควบคุมคุณภาพที่ดีเพียงพอ

เป็นเวลามากกว่า 15 ปี ที่ เค บล็อค เทคโนโลยี ได้มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตแบบCLC โดยการออกแบบ และพัฒนาเครื่องจักรสำหรับผลิตคอนกรีตมวลเบาขึ้นมาใหม่ พัฒนาสารสร้างฟองอากาศที่มีความแข็งแรงและ ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สมบูรณ์เพื่อให้มีความเป็นเอกลักษณ์ในการผลิตคอนกรีตมวลเบา ซึ่งทั้งหมดที่กล่าว มานี้รวมเรียกว่า เค บล็อค เทคโนโลยี

จุดเด่นและประโยชน์ที่จะได้รับ

สิ่งที่จะได้จากเมื่อใช้กระบวนการผลิตของ เค บล็อค เทคโนโลยี ประกอบด้วย:

1. ระบบการผลิตที่สมบูรณ์ เค บล็อก จะจัดเตรียมระบบการผลิตที่สมบูรณ์แบบ เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบขั้นตอนการควบคุมคุณภาพการ ให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนการฝึกอบรมและการสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยี อย่างเต็มที่
2. อุปกรณ์และเครื่องจักร อุปกรณ์และเครื่องจักรที่ออกแบบโดย เค บล็อค สำหรับใช้ในการผลิตคอนกรีตมวลเบา
3. สารสร้างฟองอากาศ เค บล็อค สารสร้างฟองอากาศที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผลิตฟองอากาศที่มีขนาดเล็กและมีความแข็งแรง
4. สูตรการผลิต ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น
5. อบรมเทคนิคและกระบวนการผลิต มีการอบรมและให้คำแนะนำกระบวนการผลิตที่ถูกวิธีเพื่อที่จะได้รับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ด้วยการใช้กระบวนการผลิต เค บล็อค เทคโนโลยีดังที่กล่าวมาข้างต้นคอนกรีตมวลเบาจะมีจุดเด่นและคุณสมบัติดังต่อไปนี้ :

A. ในระหว่างการผลิต

  • กระบวนการผลิตที่รวดเร็ว (5-6 นาทีต่อรอบการผลิต)และได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ
  • เครื่องผสมเป็นแบบแรงเฉือนสูง (high shear) ดังนั้นใช้ปูนซีเมนต์น้อยที่สุดเพื่อให้ได้ความแข็งแรงตามที่ต้องการ
  • ของเสียที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตน้อย
  • ผลิตภัณฑ์ไม่ยุบตัวเมื่ออยู่ในโมลด์
  • ระบบการผลิตใช้พลังงานต่ำ
  • ใช้พื้นที่ในการผลิตน้อย
  • มีระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ใช้คนงานน้อยที่สุด

B. ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์

คุณลักษณะ ประโยชน์ที่ได้รับ:
โครงสร้างฟองอากาศขนาดเล็กและเป็นเซลล์ปิด
  • การดูดซึมน้ำต่ำ
คุณลักษณะเหล่านี้จะสร้างจุดเด่นที่ยอดเยี่ยมและมีประโยชน์
  • สามารถใช้ปูนก่อ – ปูนฉาบทั่วไปได้
  • ใช้งานง่าย
    สามารถใช้ปูนก่อ-ฉาบทั่วไปได้ทำให้ผู้รับเหมาไม่จำเป็นต้อง มีการฝึกอบรมเพิ่มเติม ไม่จำเป็นใช้อุปกรณ์พิเศษในการใช้งาน เค บล็อค ทำให้สามารถใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการก่อสร้างเช่นเดียวกับการ ใช้อิฐมอญหรือบล็อกทั่วๆ ไป
  • K BLOCK สามารถนำไปใช้ในพื้นที่เปียกได้เช่นบริเวณห้องน้ำ
  • ไม่มีปัญหาในการนำ เค บล็อก ไปใช้งานในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง หรือฝนตกตลอด
    ด้วยอัตราการดูดซึมน้ำต่ำ จึงทำให้ เค บล็อค ไม่มีปัญหาเรื่องความชื้น ซึมผ่านผนัง ดังนั้นจะไม่มีปัญหาวอลล์เปเปอร์หลุดลอกหรือไฟฟ้าช็อต และจะไม่มีปัญหาผนังชื้นเกิดขึ้น ในขณะที่บล็อก AAC ที่มีการดูดซึมน้ำ สูง (ปกติ 30-40%) ทำให้ความชื้นสามารถผ่านผนังได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหารบกวนต่างๆ ตามมา
  • ไม่ต้องก่อบล็อกธรรมดาที่ชั้นล่าง(ดังที่เห็นในบางโครงการที่มีการใช้บล็อก AAC
  • ค่าการนำความร้อนต่ำ
    อัตราการดูดซึมน้ำที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1% จะส่งผลให้ค่าการนำความร้อนเพิ่ม ขึ้น 5%ซึ่ง K BLOCK มีอัตราการดูดซึมน้ำต่ำเพราะฉะนั้นค่าการนำ ความร้อนในผนังจริงจึงเหมือนกับค่าการนำความร้อนที่ได้จากห้อง ปฏิบัติการในขณะที่บล็อกมวลเบาบางชนิดที่มีอัตรา การดูดซึมน้ำสูง (30-40%) อัตราการนำความร้อนจากผนังจริงจะต่างกับค่าที่ได้จาก ห้องปฏิบัติการดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น
  • โครงสร้างเซลล์ปิด
  • เป็นฉนวนป้องกันความร้อน/ป้องกันไฟได้เป็นอย่างดี
    เนื่องจากเป็นฟองอากาศแบบเซลล์ปิดไม่เชื่อมต่อกัน ความร้อนจึงไม่ สามารถแทรกผ่านเข้าสู่เนื้อซีเมนต์ได้ ในขณะที่บล็อกมวลเบาทั่วไปจะ มีเซลล์ ที่เชื่อมต่อ(เช่นเดียวกับบล็อก AAC) ทำให้ความร้อนสามารถ แทรกผ่านได้ เป็นผลให้สูญเสียประสิทธิ์ภาพในการเป็นฉนวนป้องกัน ความร้อน ดังนั้น เค บล็อค จึงมีจุดเด่นในด้านการฉนวนป้องกันไฟและ ความร้อนได้เป็นอย่างดี
  • การป้องกันเสียงดี
    เนื่องจากเซลล์ฟองอากาศของ เค บล็อค มีขนาดเล็กไม่เชื่อมต่อกัน (เซลล์ปิด) คลื่นเสียงจะสูญเสียพลังงานเป็นจำนวนมากเมื่อเคลื่อนผ่าน อากาศไปสู่เนื้อซีเมนต์รวม มีผลทำให้มีคุณสมบัติการป้องกันเสียงดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้างของเซลล์เปิด(ดังเช่น บล็อก AAC และ บล็อกทั่วๆ ไป) เสียงสามารถผ่านจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งได้ง่าย เนื่องจากเป็นเซลล์เปิดที่เชื่อมต่อก้น ทำให้ไม่ค่อยมีการสูญเสียพลังงาน
  • ฟองอากาศที่แข็งแรง
  • ทำให้เกิดการยุบตัวน้อยมาก
    สำหรับการใช้งานอื่นๆ - คอนกรีตมวลเบา K Blockจะเกิดการยุบตัว น้อยมากเมื่อเทในแบบหล่อหรือโมลด์ (เช่นการใช้งานหล่อในที่) เมื่อทำ การผสมแล้วจะเกิดความเสถียรตัวสูง สามารถเทผสมจากที่สูงหรือใช้ใน ปั๊มในการเทได้
  • ฟองอากาศขนาดเล็ก
  • ทำให้เกิดการยุบตัวน้อยมาก
    สำหรับการใช้งานอื่นๆ - คอนกรีตมวลเบา K Blockจะเกิดการยุบตัว น้อยมากเมื่อเทในแบบหล่อหรือโมลด์ (เช่นการใช้งานหล่อในที่) เมื่อทำ การผสมแล้วจะเกิดความเสถียรตัวสูง สามารถเทผสมจากที่สูงหรือใช้ใน ปั๊มในการเทได้

การใช้งาน:

คอนกรีตมวลเบาถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้างได้หลากหลายรูปแบบเช่น บล็อกมวลเบา ,หลังคาฉนวนกันความร้อน ,ผนังหรือโครงสร้างหล่อในที ่เพราะเนื่องจากคอนกรีตมวลเบามีสามารถความไหลเทสูงมันจึงสามารถเทเข้าโมลด์ได้ง่ายโดยไม่ต้องมีการสั่นยังสามารถประยุกต์ใช้กับงานเติมเต็มท่อใต้ดิน ช่องในอุโมงค์ เหมือง และร่องที่ลึกได้ดี

สถานที่ผลิต:

คอนกรีตมวลเบาสามารถผลิตได้ทั้งหน้าไซด์งานโดยใช้อุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ได้ (mobile equipment) และสามารถผลิตได้ในโรงงาน สำหรับโครงการที่ต้องการผลิตหน้างานหรือหน้าไซด์งาน ปูนซีเมนต์ ทราย(ถ้าต้องการ) น้ำ สามารถผลิตได้จากแพลนท์คอนกรีตผสมเสร็จแล้วขนย้าย มาที่ไซด์งานโดยใช้รถเรดี้มิกซ์ หรือจะสามารถผลิตเองได้ที่ไซด์งานโดยใช้อุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ได้จากนั้นจะทำการเติมโฟมที่ผลิตได้จากสารสร้างฟอง อากาศเข้าไปในคอนกรีตที่อยู่ในรถเรดี้มิกซ์หรือเติมเข้าไปในเครื่องผลิตคอนกรีตมวลเบาแบบเคลื่อนที่ได้เมื่อเติมโฟมเข้าไปแล้วคอนกรีตมวลเบานี้สามารถ ใช้ปั๊มหรือเทไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้

บริษัท เค บล็อค เทคโนโลยี จำกัด

1583 ซอยลาดพร้าว 94 ถนนลาดพร้าว แขวงพลับพลา วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
Tel. : 02 559 2318-21, 086 320 2414
Fax. : 02 559 2322
E-mail : sales@kblocktechnology.com
สนใจโทร
02 559 2318